รู้เท่าทันเพื่อดูแล ‘ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม (Activism Burnout)’ ตอน 2




รู้เท่าทันเพื่อดูแล ‘ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม (Activism Burnout)’ กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไรบ้าง ตอน 2 มีอะไรบ้างที่สามารถช่วยป้องกันภาวะหมดไฟได้ ✌️✨

ต่อยอดจากบทความ รู้เท่าทันภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม ตอน 1

ภายในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักวิธีช่วยป้องกันภาวะหมดไฟกันว่ามีอะไรบ้าง 🔎📖

👀 สังเกต - ตระหนักรู้เท่าทันตนเองเวลาที่กำลังเผชิญกับความเครียดเพราะก่อนที่เราจะแก้เครียดหรือป้องกันความเครียดได้ต้องเริ่มจากการรู้เท่าทันตนเองว่าตอนนี้เรากำลังเครียดกับอะไร เรื่องอะไรที่จะทำให้เราเครียดและระดับความเครียดอยู่ในระดับไหน การสังเกต รู้เท่าทันตนเองสามารถบ่มเพาะได้จากการใช้เวลากับตัวเอง การใช้เวลาจดบันทึกชีวิต เช็คอินความรู้สึก ความต้องการของตนเอง

😪 หาเวลาพักผ่อนให้บ่อยขึ้น - การอนุญาตให้ตัวเองได้มีเวลาพักผ่อนและใช้เวลาเพื่อตัวเองเป็นอีกหนึ่งวิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันภาวะหมดไฟ หากทำงานตลอดเวลาแล้วไม่รู้สึกว่าได้พักผ่อนหรืออยู่ในสภาวะที่เครียดตลอดเวลาไปเรื่อยๆ แล้วไม่ได้พักเพื่อให้ความเครียดบรรเทาลงอาการภาวะหมดไฟก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการหาเวลาพัก จัดสรรเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันภาวะหมดไฟได้

🫶 หาเวลาทำสิ่งที่ตัวเองชอบทำในกิจวัตรประจำวัน - ทำงานอดิเรกที่ชอบทำ อ่านหนังสือที่อยากอ่าน ดูหนังหรือซีรีส์ที่ชอบ หาเวลาเล็กๆ ในแต่ละวันทำสิ่งที่ตัวเองมีความสุข

🏃 เคลื่อนไหวร่างกาย - ใช้ฐานกายเพื่อบรรเทาฐานใจเช่น ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ออกไปเดินเล่นข้างนอก หรือ เล่นกีฬา

🫂 สังเกตถึงข้อจำกัดของตนเองและยอมรับข้อจำกัดของตัวเอง - ไม่กดดันให้ตัวเองต้องสมบูรณ์แบบหรือทำทุกอย่างแล้วจะต้องสำเร็จไปหมด รวมถึงการมองเห็นทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่แล้วเรียนรู้ที่จะบริหารพลังงาน ทรัพยากรที่มีของตนเองอย่างสมดุล ขอความช่วยเหลือหากรู้สึกงานที่รับผิดชอบหนักเกินไปและทำคนเดียวไม่ไหว

💖 ทำกิจกรรมเพื่อดูแลตัวเอง (Self-Care) - พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดูแลจิตใจด้วยการใช้เวลากับคนที่รักหรือสัตว์เลี้ยงตัวโปรดซึ่งเป็นกิจกรรมดูแลสุขภาวะทั้งด้านกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

🔥มองภาวะหมดไฟเป็นโอกาสในการเรียนรู้ - สำรวจตัวเองว่าเราต้องการอะไร เราอยากทำอะไร และอะไรที่เราไม่อยากทำแม้มันจะเป็นภาวะที่เหนื่อยใจแต่มันก็สามารถเป็นโอกาสในการเรียนรู้ที่จะบ่มเพาะให้เรามีทักษะรู้เท่าทันตนเองและสะท้อนตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้

🧑‍⚕️ ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยา นักบำบึด หรือ ผู้ให้คำปรึกษาหากรู้สึกว่าไม่ไหวจริง ๆ - ภาวะหมดไฟเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนการรู้สึกหมดไฟไม่ใช่เรื่องผิดและไม่ใช่เรื่องน่าละอายใจ โดยเฉพาะกับนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อสังคม มันโอเคที่บางครั้งคุณอาจจะมีความรู้สึกหมดไฟบ้างและต้องการกำลังใจ การสนับสนุนหรือความช่วยเหลือจากชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ การรู้เท่าทันตนเองว่าตอนนี้คุณกำลังเครียดและหมดไฟเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางการเยียวยาที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้แล้วเติบโตจากมันได้ ภาวะหมดไฟสามารถหมดไปได้หากเราค่อยๆ เริ่มกลับมาสังเกต มองเห็นมันแล้วค่อยๆ ใช้เวลาดูแลตนเอง

Content/Graphic By : ปัทม์

อ้างอิง
Activist Handbook : https://activisthandbook.org/wellbeing/burnout
Psychology Today : https://www.psychologytoday.com/.../tired-of-being-tired...

#ThaiTGA #เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย #ดูแลสุขภาวะภาวะหมดไฟ