รู้เท่าทันเพื่อดูแล ‘ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม (Activism Burnout)’ ตอน 1
''รู้สึกว่าทำงานหนักเท่าไหร่ก็ทำไม่พอ / 'รู้สึกว่าสิ่งที่ทำไปไม่มีคุณค่า ไม่ได้รับคุณค่าหรือการถูกมองเห็น'
สัญญาณเตือน 'ภาวะหมดไฟ' ในการเคลื่อนไหวในหมู่นักกิจกรรม
รู้เท่าทันเพื่อดูแล ‘ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม (Activism Burnout)’ กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไรบ้าง ตอน 1
การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อสังคมบางครั้งก็มาพร้อมกับความเหนื่อยล้าและความเครียดอย่างต่อเนื่องหากไม่ได้พักผ่อน วันนี้เราอยากจะเชิญชวนทุกคนลองมาเช็คกันดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่าเผื่อรู้เท่าทันอาการ 'Activism Burnout' หรือ 'ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม'
1. รู้สึกว่ามีงานให้ทำมากเกินไปแต่ไม่ว่าจะทำเท่าไหร่ก็รู้สึกว่าทำไม่เพียงพอ
2. รู้สึกว่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนในชุมชน คอมมูนิตี้หรือจากเพื่อนร่วมงาน
3. รู้สึกว่าไม่มีช่วงเวลาให้พักเบรคระหว่างวันในกิจวัตรประจำวัน
4. รู้สึกไม่พึงพอใจจากงานที่ทำ (ไม่ได้ทำงานที่ตรงกับคุณค่า)
5. รู้สึกไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ มีอำนาจตัดสินใจและควบคุมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
6. รู้สึกขาดสมดุล Work-Life Balance ไม่มีเวลาใช้ชีวิตและทำงานที่สมดุล
7. รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงานเคลื่อนไหวเพื่อสังคมหรือจากสถานทีทำงาน
หากคุณมีความรู้สึกเหล่านี้มากกว่า 2 ข้อหรือเกือบทุกข้อ ตอนนี้คุณก็มีความเป็นไปได้ที่กำลังจะเข้าสู่สภาวะหมดไฟซึ่งสามารถมี 5 ระยะดังนี้
1) ระยะพักร้อนฝันหวาน (Honeymoon) - ในช่วงเริ่มต้นการทำงานมีความตื่นเต้น สนใจและอยากจะทำงานออกมาได้ดีที่สุด ยังไม่มีอาการเครียดและตื่นเต้นที่จะทำงานเคลื่อนไหวเพื่อสังคม
2) ความเครียดเวลาทำงาน (Onset Of Stress) - มีอาการเครียดทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เวลาทำงานเช่นรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกไม่มีพลังงานทำให้ทำงานที่รับมอบหมายได้น้อยลง และ มีอาการเริ่มนอนหลับยาก
3) มีความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) - รู้สึกขาดแรงจูงใจและมีอาการเครียดบ่อยๆ ครั้ง ในระยะนี้หลายคนอาจจะมีการเริ่มสูบบุหรี่เยอะขึ้นหรือดื่มแอลกฮอล์มากกว่าปกติเป็นพิเศษเพื่อหวังว่าจะลดอาการเครียด
4) ภาวะหมดไฟ (Burn Out) มีความเหนื่อยล้าและเริ่มที่จะไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวันให้สำเร็จได้ รู้สึกว่าทุกอย่างช่างน่าเบื่อหน่ายและเริ่มชินชากับทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
5) หมดไฟในการใช้ชีวิต (Habitual Burnout) มีภาวะหมดไฟในการใช้ชีวิตประจำวันและรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่บ่อยๆ มีอาการซึมเศร้าและไม่รู้สึกยินดียินร้ายต่อชีวิต
ทำไมนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อสังคมจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหมดไฟ - นักกิจกรรมส่วนใหญ่มักจะเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมที่ทำงานโดยสมัครใจ ทำงานขับเคลื่อนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือได้รับรางวัล ความสำเร็จในทันที เมื่อทำงานเคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่องแล้วรู้สึกว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนไม่สำเร็จสักที รู้สึกเหนื่อยล้าที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างที่ตั้งใจ และส่วนมากการเคลื่อนไหวเพื่อสังคมมักจะเป็นกิจกรรมที่คนรอบข้างอย่างเพื่อน ครอบครัวอาจจะไม่ได้ใส่ใจหรือบางครั้งไม่เชื่อมั่นในงานของพวกเขามากนักทำให้นักกิจกรรมส่วนใหญ่จะรู้สึกกดดันตัวเอง สงสัยในตัวเองว่าสิ่งที่ทำไปนั้นสูญเปล่าหรือไหมเมื่อเคลื่อนไหวมานานแต่รู้สึกว่าไม่สำเร็จเสียทีก็ยิ่งกดดันตัวเองมากขึ้น
ยิ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่เป็นคนชนกลุ่มน้อยยิ่งเผชิญความเครียดสูง - นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมส่วนมากมักจะเป็นนักกิจกรรมที่มาจากชุมชนที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมไม่ว่าจะเป็นเพศ เชื้อชาติ ความเชื่อ หรือ ชนชั้นทางสังคมที่ถูกสังคมกดดัน มีข้อจำกัดในชีวิตและขาดการสนับสนุนจากโครงสร้างทางสังคมทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันที่สูงกว่าคนทั่วไปที่ได้รับการสนับสนุนเชิงโครงสร้างอยู่แล้วเมื่อมาทำงานเคลื่อนไหวพวกเขาก็จะมีราคาที่ต้องจ่ายมากกว่าในการสนับสนุนการทำงานเคลื่อนไหว บ่อยครั้งเมื่อทำงานเคลื่อนไหวด้วยความสมัครใจแต่การจะออกไปทำงานก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องสนับสนุนตัวเองทำให้พวกเขามต้องใช้ทรัพยากรส่วนตัวในการทำงานเคลื่อนไหวทางสังคมเช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าสวัสดิการต่างๆ ที่ต้องใช้ในการไปลงพื้นที่ ไปทำงานเคลื่อนไหวทางสังคม ยิ่งจ่ายทรัพยากรส่วนตัวไปมากเป็นระยะเวลานานแต่งานที่ขับเคลื่อนไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ถูกมองเห็น รู้สึกทำไปมาก จ่ายไปมากแต่ก็ยังห่างไกลจากความเปลี่ยนแปลง การสูญเสียทรัพยากรในการใช้ชีวิตก็ทำให้พวกเขาเริ่มขาดสมดุล ยิ่งทำให้พวกเขาหมดไฟที่จะเคลื่อนไหวจนบางครั้งก็เลิกเคลื่อนไหว หรือ จำเป็นต้องพักการเคลื่อนไหวทางสังคมสักพักใหญ่ก่อนที่จะกลับมามีแรงเคลื่อนไหวอีกครั้ง
หากคุณสังเกตถึงอาการที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงภาวะหมดไฟในตัวเองหรือคนรอบข้าง ในช่วงที่เหนื่อยล้าอย่าลืมหาเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อน ให้กำลังใจว่าภาวะหมดไฟเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องน่าละอายใจและทุกคนเองก็มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ ก้าวข้ามผ่านภาวะหมดไฟได้ ถึงจะหมดไฟแต่ใช่ว่าจะหมดหวัง และถ้าอยากจะรู้ว่ามีวิธีอะไรบ้างที่สามารถป้องกันอาการหมดไฟได้ สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ รู้เท่าทันเพื่อดูแล ‘ภาวะหมดไฟในการเคลื่อนไหวเพื่อสังคม (Activism Burnout)’ กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไรบ้าง ตอน 2 มีอะไรบ้างที่สามารถช่วยป้องกันภาวะหมดไฟได้
Content/Graphic By : ปัทม์
อ้างอิง
Activist Handbook : https://activisthandbook.org/wellbeing/burnout
Psychology Today : https://www.psychologytoday.com/.../tired-of-being-tired...
#ThaiTGA #เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย #ดูแลสุขภาวะภาวะหมดไฟ