📖คู่มือเช็คลิสต์ เรียนรู้เรื่องสุขภาวะฉบับย่อพกพาง่าย เช็คตัวเองได้ เราดูแลสุขภาวะแต่ละด้านกี่คะแนนกัน🤔
ถ้าต้องการจะดูแลสุขภาวะแต่ยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือสุขภาวะที่ดีแล้วมีกิจกรรมอะไรบ้างที่สามารถทำได้ เพื่อช่วยลดภาวะหมดไฟ เติมพลังให้ชีวิต และส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยกิจกรรมที่ทำได้ด้วยตัวเองบ้าง ลองมาอ่านบทความนี้กันดูได้ว่า สุขภาวะมีอะไรกันบ้างและแต่ละด้านมีกิจกรรมอะไรที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะให้ดีขึ้นบ้างสุขภาวะที่ดี หรือ สุขภาพที่ดี หมายถึงอะไร ถ้าค้นความหมายอ้างอิงจาก พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พศ.2550 จะได้นิยามความหมายนี้ว่า “สุขภาพ หรือ สุขภาวะ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล”
แต่ถ้าค้นต่อในคำนิยามของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization จะได้นิยามว่า “สภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย จิต และสังคม และไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของการปราศจากโรคและความพิการ" (Health is a state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of the disease and infirmity)
โดยสรุปแล้วการให้ความหมายของสุขภาพหรือสุขภาวะที่ดีนั้น มีการมองตามนิยามของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน แม้จะมีหลักอ้างอิงแต่ในเชิงรายละเอียดก็มีความต่างกัน ดังนั้น ในบทความนี้เราจะชวนมาดูคำนิยามในบริบทของประเทศไทยเป็นหลักกันว่า สุขภาวะทั้ง 4 ด้านอย่าง กาย จิต ปัญญาและสังคมนั้น หมายถึงอะไรกันบ้าง
สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางร่างกาย (Physical Wellbeing) หมายถึง ร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ
เมื่อค้นต่อเพิ่มเติมก็ได้นิยามความหมายที่มีความปัจจุบันมากขึ้นอย่างในปี 2552 อ้างอิจากสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ นิยามความหมายของสุขภาวะทางกายก็คือ “การมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ สามามรถจัดการต่ออาการเจ็บปวดหรือเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดหรืออาการปวดเมื่อยได้ มีความกระปรี้กระเปร่าและความกระฉับกระเฉงในการทำงานสามารถทำงานได้ตามสภาพร่างกายที่มี มีกำลังใจการทำงานเพียงพอโดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น ได้รับอาหารดีและเพียงพอในแต่ละวัน มีเวลาออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ”
สุขภาวะทางด้านจิตใจ (Mental Wellbeing) หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข อันเป็นผลจากการมีความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิต มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีโดยครอบคลุมถึงความดีงามภายในจิตใจ ภายใต้สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป (กรมสุขภาพจิต 2545)
สุขภาพปัญญา (Spiritual Health) หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)
สุขภาวะทางสังคม (Social Wellbeing) หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง มีครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม มีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีสันติภาพ เข้าถึงสวัสดิการ ระบบบริการสาธารณะที่ดี
อ้างอิงเพิ่มเติม
SDG Updates | “Good Health and Well-being: เมื่อนิยามของสุขภาพดี’ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ร่างกายแข็งแรง” : https://www.sdgmove.com/.../sdg-updates-good-health-and.../
สสส : https://shorturl.at/NO268
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาซีรีส์ การดูแลสุขภาวะสำหรับนักกิจกรรมและบุคคลข้ามเพศไปจนถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
Content/Graphic By : ปัทม์
#ThaiTGA #เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย #ดูแลสุขภาวะ