วันสตรีสากล




เนื่องใน วันสตรีสากล ชวนรับชมไลฟ์ งาน International Women’s Day Film Talk 2025: Breaking Barriers, Redefining Norms

✨จัดโดย UNDP ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย, มูลนิธิเวสต์มินสเตอร์เพื่อประชาธิปไตย (WFD), สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ Mirror Thailand เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา

💬ในงานนี้พี่ฮั้ว ณชเล บุญญาภิสมภาร รองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในวงเสวนา บอกเล่า 3 เหตุการณ์สำคัญ เผื่อฉายภาพให้เห็นถึงการต่อสู้เรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ

🏳️‍⚧️ปี 2548 หญิงข้ามเพศ ฟ้องกระทรวงกลาโหม ผ่านศาลปกครอง จากการถูกระบุในใบ สด.43 ว่าเป็นโรคจิตวิปริตถาวร ส่งผลให้เกิดปัญหาในการสมัครงาน ครั้งนั้นศาลปกครองตัดสินให้ขนะ และให้กระทรวงกลาโหม เปลี่ยนคำอธิบายในใบสด. 43 เป็นคำว่า มีร่างกายไม่ตรงกับเพศกำเนิด แทนการเขียน ใช้คำที่ตีตราคนข้ามเพศ

🪪ปี 2551 ประเทศไทยมี พรบ. คำนำหน้านาม ผู้หญิงตามเพศกำเนิดสามารถเลือกใช้นาง หรือนางสาวได้ ในขณะที่ผู้หญิงข้ามเพศยังไม่สามารถเลือกใช้คำนำหน้านามใดใดได้ แต่กลุ่มเฟมินิสต์ที่ต่อสู้เรื่อง พรบ. คำนำหน้านาม จัดงานเสวนาหนึ่ง เพื่อให้พี่น้องผู้หญิงข้ามเพศได้เปลี่ยนคำนำหน้านามได้ด้วย ณ เวลานั้น จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 17 ปี ผู้หญิงข้ามเพศต่อสู้ทุกวินาที เพื่อที่จะถูกยอมรับทางกฎหมาย ให้สามารถเลือกใช้คำนำหน้านาม ที่ต้องการใช้

🏳️‍🌈ปี 2558 ประเทศไทยมี พรบ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองคนที่เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย แต่นี้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก ผ่านมา 10 ปี ต้องมาช่วยกันดูว่า พรบ. นี้ ใช้ทำเรื่องอะไรบ้าง ใช้ยกระกับความเท่าเทียมทางเพศ ที่ไปไกลกว่าเพศชายและหญิงได้แค่ไหน

🌎จากสถานการณ์โลกที่หลายประเทศ หลายรัฐ กำลังต่อต้านความเป็นเพศ จากข่าวจำนวนมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา ต่อต้านหลักการบางอย่างหรือกลุ่มเพศสภาพ เช่น คนข้ามเพศ การทำงานที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมที่แท้จริง คือการทำงานแบบข้ามกระบวนการเคลื่อนไหว เพราะสิ่งที่เราเผชิญมันยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์โลกที่มันเปลี่ยนไป

👇เข้าไปรับชมรับฟังกันแบบเต็มได้ที่ 👇 https://www.facebook.com/share/v/18Ewy9dhze/